วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมการแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน   แบ่งได้เป็น  2  กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ  
กลุ่มอีสานเหนือ  มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า  “เซิ้ง   ฟ้อน  และหมอลำ”  เช่น  เซิ้งบังไฟ  เซิ้งสวิง  ฟ้อนภูไท  ลำกลอนเกี้ยว  ลำเต้ย  ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ  ได้แก่  แคน  พิณ  ซอ กลองยาว ฉิ่ง  ฉาบ  ฆ้อง  และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย  

ตัวอย่างการแสดงของกลุ่มอีสานเหนือ

ฟ้อนภูไท

เป็นการเล่นพื้นเมืองของชาวภูไทซึ่งเป็นคนไทยเผ่าหนึ่งที่อาศัยทางภาคอีสานแถบจังหวัดสกลนคร นครพนม เลย และจังหวัดใกล้เคียงอื่น ๆ การฟ้อนภูไทนี้จะแสดงในพิธีมงคล หรืองานบุญต่าง ๆ
การแต่งกาย ผู้แสดงหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นสีดำขลิบแดง นุ่งยาวกรอมเท้า สวมเสื้อสีดำขลิบแดง หรือแดงขลิบดำก็ได้ แต่ขลิบคอแขนและชายเสื้อ สวมเล็บมือแปดเล็บติดพู่สีแดง ผมเกล้ามวยผูกผมด้วยผ้าสีแดง
วงดนตรีประกอบ ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายผู้ไทของจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีลีลาและจังหวะเร็วกว่าลายผู้ไทของจังหวัดอื่นๆ
เซิ้งกระติ๊บ

กลุ่มอีสานใต้
ได้รับอิทธิพลไทยเขมร   มีการละเล่นที่เรียกว่า  เรือม  หรือ เร็อม  เช่น  เรือมลูดอันเร  หรือรำกระทบสาก  รำกระเน็บติงต็อง  หรือระบำตั๊กแตนตำข้าว วงดนตรี  ที่ใช้บรรเลง คือ  วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี  คือ  ซอด้วง  ซอด้วง  ซอครัวเอก  กลองกันตรึมพิณ  ระนาด  ปี่สไล  กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

ตัวอย่างการแสดงของกลุ่มอีสานใต้

เรือมกันตรึม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น