วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมการฟ้อนรำทางภาคเหนือ

วัฒนธรรมการฟ้อนรำทางภาคเหนือ
ดนตรีการล้านนามีมานานตามหลักฐานที่ปรากฏจากอดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งบางประเภทอาจไม่มีใครเคยคิดว่าเป็นสิ่งที่อยู่กับล้านนามาก่อน
เช่น จะเข้ แตรสังข์ และแคน ฯลฯ เครื่องดนตรีเหล่านี้แพร่กระจายในแถบล้านนาและไทยมาช้านาน

พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชธิดา ลำดับที่ 11 ของพระเจ้าอินทวิชยานนท์
แห่งนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 กับพระเทวี แม่เจ้าเทพไกรสร ประสูติเมื่อ วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 เมื่อทรงเจริญวัยขึ้น ได้ถวายตัวเข้า
รับราชการฝ่ายในฉลองเบื้องพระยุคลบาท ในระหว่างปีพุทธศักราช 2429 ถึง 2457 ท่านได้เสด็จกลับมา ประทับที่เชียงใหม่ จนกระทั่ง
สิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2476ระยะเวลาที่พระราชชายาฯ ทรงประทับที่เชียงใหม่ ทรงมีพระกรณียกิจนานัปการ ที่สำคัญเกี่ยวกับดนตรีและ
การแสดง ท่านทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาดนตรีไทยภาคกลาง มโหรี ปี่พาทย์ เป็นต้น ทางด้านการละคร ทรงฝึกซ้อมให้คณะละครรำ
ของเจ้าอินทวโรรสสุริ-ยวงษ์ โดยดัดแปลงให้เข้ากับทางล้านนา เช่น ละครรำเรื่องพระลอตามไก่ พระลอตอนเสี่ยงน้ำ พระลอตอนเข้า
สวน ละครร้องเรื่องน้อย ไชยา และละครเรื่องสาวเครือฟ้า เป็นต้น ส่วนการฟ้อนแบบพื้นบ้าน ทรงจัดระเบียบการฟ้อนเล็บ ฝึกซ้อมการ
ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนเมง (ฟ้อนผีมด) ฟ้อนม่านเม่เล้ ฟ้อนดาบ ฟ้อนซอสมโภชช้างเผือก นอกจากนี้ ยังฝึกซ้อมการรำให้
พระญาติและผู้สนใจ มีระบำงู รำโคมและจีนรำพัด เป็นอาทิ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ในสมัยพระราชชายาฯ

      
ช่างฟ้อนในวังพระราชชายาฯ และคุ้มเจ้าแก้วนวรัฐในงานฉลองวิหารวัดสวนดอกหลังปัจจุบัน(2516) ส่วนความนิยมนั้น การแสดงหลาย
อย่างที่เคยปรากฏ ได้เสื่อมความนิยมไป บางอย่างพอมีให้พบเห็น อย่างเช่นก่อนหน้านั้นประมาณ พ.ศ. 2510 ยังมีการแสดงหนังตะลุง
ตามงานวัด โดยมีการปรับให้เข้ากับวัฒนธรรมล้านนา เช่น เรื่องที่เป็นนิยายธรรมชาดก มีการพากย์เป็นภาษาล้านนานอกจากนี้ ยังมีการ
เล่นลิเกในงานปอยหลวง แต่เริ่มหายไปบ้าง ในขณะที่การดีดซึง สีสะล้อ เป่าแน และเป่าปี่ ยังมีความนิยมกันอยู่ แม้บางอย่างอาจเปลี่ยน
บทบาทไป เช่น วงปี่พาทย์ หรือ วง “พาทย์ค้อง” (อ่าน “ป้าด-ก๊อง”) แต่เดิมนิยมเล่นเป็นมหรสพ ปัจจุบันเล่นเฉพาะงานศพ และประกอบใน
พิธีกรรมการฟ้อนผี

ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา หรือ ฟ้อนกำเบ้อ


เป็นกระบวนฟ้อนที่เกิดขึ้นจากพระดำริของพระราชชายาฯ โดยการจ้างนักแสดงชาวพม่าและมอญมาสอนให้
ชาวพม่าที่มาสอนให้เป็นชาย ส่วนนักแสดงชาวมอญเป็นหญิงชื่อเม้ยเจ่งต่า การถ่ายทอดแต่ละครั้งพระราช
ชายาฯ จะเสด็จมาควบคุมอย่างใกล้ชิด ทรงเห็นว่าท่ารำของผู้ชายไม่น่าดูนัก จึงรับสั่งให้ครูผู้หญิงแสดงท่า
รำของระบำพม่าที่เคยแสดงในที่รโหฐานของ กษัตริย์พม่าให้ทอดพระเนตร ครั้นได้ชมก็พอพระทัยจึงได้ทรง
ดัดแปลงร่วมกับครูฟ้อนในวัง กลายเป็นระบำหรือฟ้อนชุดใหม่ทรงให้ผู้ฟ้อนทั้งหมดแต่งกายเป็น "กำเบ้อ" ซึ่ง
ตรงกับคำในภาคกลางว่า "ผีเสื้อ" แสดงครั้งแรกในงานฉลองตำหนักของพระองค์ที่สร้างขึ้นใหม่บนดอยสุเทพ
ใช้วงปี่พาทย์ผสมพิเศษบรรเลงประกอบการฟ้อน


เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเลียบมณฑลพายัพและเสด็จมาเสวยพระกระยาหารค่ำ พระราช
ชายาฯ จึงจัดฟ้อนชุดนี้แสดงให้ทอดพระเนตร แต่งทรงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายจากชุดผีเสื้อมาเป็นชุดระบำในที่
รโหฐานตามคำ บอกเล่าเดิมผสมกับภาพในหนังสือเรื่องพระเจ้าสีป้อ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประ
พันธ์พงศ์ เป็นแบบอย่าง ฟ้อนกำเบ้อ หรือระบำผีเสื้อ จึงกลายเป็น "ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา" เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น