วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

วัฒนธรรมการไหว้ครู

วัฒนธรรมการไหว้ครู

ไหว้ครูพิธีการหนึ่งที่ศิลปินไทยแขนงต่าง ๆ ไม่ว่านาฏศิลป์ โขน ละครหรือการแสดงทางวัฒนธรรมไทยต่าง ๆ ถือเป็นพิธีสำคัญและ ปฏิบัติสืบต่อกันมา คือ พิธีไหว้ครู โดยมีความเชื่อว่านอกจากเหล่าเทพเป็นผู้อบรมครูแห่งศิลปะการแสดง ทั้งมวลที่ศิลปินต้องให้ ความเคารพแล้ว ศิลปินยังต้องไหว้ครูเพื่อเป็นการระลึกถึงครูที่อบรมประสิทธิประสาทวิชา ให้ทั้งครูในปัจจุบันและครูที่ได้ล่วงลับ ไปแล้ว

วัฒนธรรมการไหว้ครูดนตรีไทย

วัฒนธรรมการไหว้ครูดนตรีไทย ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเทศที่อยู่ในทางทวีปเอเชียมีแทบทุกประเทศ เพราะได้ อิทธิพลมาจากอินเดียและจีน ซึ่งเป็นชาติใหญ่เป็นชาติที่เจริญมาเก่าแก่ ประวัติศาสตร์ของ 2 ชาตินี้มีพิธีการหรือจารีตประเพณี เกี่ยวกับการเคารพครู อาจารย์ หรือผู้ใหญ่ เช่น คนจีนมีพิธีไหว้บรรพบุรุษ ประเทศไทยได้รับอิทธิพลมาจากทั้งจีนและอินเดีย โดย นิสัยของคนไทยรักอิสระ ไหว้ครูรักพวกพ้อง รักพ่อแม่ และบรรพบุรุษ ฉะนั้นเมื่อมีประเพณีที่สอดคล้องกันแพร่เข้ามาคนไทยจึงรับได้อย่าง ดีและนำมาสานต่อได้ดี การรู้จักเคารพผู้ที่มีพระคุณหรือผู้ที่ทำประโยชน์ให้ภาษาใหม่ เรียกว่า การเคารพลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น ครูที่ล่วงลับไปแล้วต้องทำบุญกรวดน้ำไปให้ การนำวิชาความรู้ของท่านมาใช้ต้องไปบอกกล่าวในพิธีด้วย การไหว้ครูดนตรีไทยไม่ได้มีแต่เพียงไปเคารพครูหรือทำบุญให้แก่ครูผู้ล่วงลับเท่านั้น เป็นการไปพบปะสังสรรค์ในหมู่ นักดนตรีด้วยกัน หรือในหมู่ผู้ที่มีอาชีพเดียวกัน ไปอภัยซึ่งกันและกัน ไปสร้างความสามัคคีกัน ทำให้สังคมของเราร่มเย็นมาเป็น เวลานาน พิธีไหว้ครูดนตรีไทยในอดีตเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ครูเท่านั้น อาหารเป็นอาหารที่เหมาะควรแก่สถานการณ์หรือพิธี กรรม ซึ่งปัจจุบันมีการเพิ่มเหล้าโรง
หัวใจสำคัญของการไหว้ครูดนตรีไทย
คือ จิตใจและความระลึกรู้ที่ถูกต้องการสอนให้คนรุ่นหลังเข้าใจความหมายของพิธีกรรม ไหว้ครูที่ถูกต้อง การไหว้ครูอยู่ที่จิตใจดอกไม้ธูปเทียนเป็นอันดับรอง เพราะฉะนั้นการสืบทอดดนตรีไทยหรือไหว้ครู ต้องผ่านจิตใจ ไม่ใช่ผ่านโดยพิธีกรรมหรือเปลือกนอก ต้องเข้าใจความหมาย ครูต้องเป็นผู้ถ่ายทอดให้ศิษย์เข้าใจในความหมายของการไหว้ครู อย่างถูกต้อง เพื่อศิษย์จะได้ทำอย่างมีหลักและเหตุผลที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น