วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว


ประวัติส่วนตัว (Resume)



ชื่อ-นามสกุล นางสาว สิริเนตร ใจดี
ชื่อ-นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) Miss Sirinet  Jaidee

ที่อยู่ปัจจุบัน  384 หมู่ 1  ตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ

โทรศัพท์มือถือ 0853129398     Email-address jang_dhs@hotmail.com

วัน  เดือน  ปีเกิด 19 เมษายน 2536

สถานที่เกิด โรงพยาบาล อำนาจเจริญ  
สถานภาพ  โสด
สัญชาติ       ไทย                     เชื้อชาติ              ไทย                           ศาสนา         พุทธ

ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระดับปริญาตรี ปี 3 โปรแกรมสังคมศึกษา

วัฒนธรรมการแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน

เป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน   แบ่งได้เป็น  2  กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ  
กลุ่มอีสานเหนือ  มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า  “เซิ้ง   ฟ้อน  และหมอลำ”  เช่น  เซิ้งบังไฟ  เซิ้งสวิง  ฟ้อนภูไท  ลำกลอนเกี้ยว  ลำเต้ย  ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ  ได้แก่  แคน  พิณ  ซอ กลองยาว ฉิ่ง  ฉาบ  ฆ้อง  และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย  

ตัวอย่างการแสดงของกลุ่มอีสานเหนือ

ฟ้อนภูไท

เป็นการเล่นพื้นเมืองของชาวภูไทซึ่งเป็นคนไทยเผ่าหนึ่งที่อาศัยทางภาคอีสานแถบจังหวัดสกลนคร นครพนม เลย และจังหวัดใกล้เคียงอื่น ๆ การฟ้อนภูไทนี้จะแสดงในพิธีมงคล หรืองานบุญต่าง ๆ
การแต่งกาย ผู้แสดงหญิงจะนุ่งผ้าซิ่นสีดำขลิบแดง นุ่งยาวกรอมเท้า สวมเสื้อสีดำขลิบแดง หรือแดงขลิบดำก็ได้ แต่ขลิบคอแขนและชายเสื้อ สวมเล็บมือแปดเล็บติดพู่สีแดง ผมเกล้ามวยผูกผมด้วยผ้าสีแดง
วงดนตรีประกอบ ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายผู้ไทของจังหวัดสกลนคร ซึ่งมีลีลาและจังหวะเร็วกว่าลายผู้ไทของจังหวัดอื่นๆ
เซิ้งกระติ๊บ

กลุ่มอีสานใต้
ได้รับอิทธิพลไทยเขมร   มีการละเล่นที่เรียกว่า  เรือม  หรือ เร็อม  เช่น  เรือมลูดอันเร  หรือรำกระทบสาก  รำกระเน็บติงต็อง  หรือระบำตั๊กแตนตำข้าว วงดนตรี  ที่ใช้บรรเลง คือ  วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี  คือ  ซอด้วง  ซอด้วง  ซอครัวเอก  กลองกันตรึมพิณ  ระนาด  ปี่สไล  กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

ตัวอย่างการแสดงของกลุ่มอีสานใต้

เรือมกันตรึม

วัฒนธรรมการแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น

เต้นกำรำเคียว

เต้นกำรำเคียว     เป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์     นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว    ร้องเล่นกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน      ผ่อนคลายจากความเหน็ด
โอกาสที่เล่น  เล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว ขณะที่มีการเกี่ยวข้าวนั้น เขามักจะมีการร้องเพลงเกี่ยวข้าวไปด้วย โดยร้องแก้กันระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง และเมื่อหยุดพักการเกี่ยวข้าวประมาณตะวันบ่ายคล้อยแล้ว  การเต้นกำรำเคียวจึงเริ่มเล่น
วิธีการเล่น  จะแบ่งผู้เล่นเป็น  ๒  ฝ่าย  คือ ฝ่ายชาย  เรียกว่า  พ่อเพลง ฝ่ายหญิง เรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว     โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อ  ฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป   ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจจะเปลี่ยนไปหลายๆ คน ช่วยกัน    ร้องจนกว่าจะจบเพลง  ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็ต้องเป็นลูกคู่
การแต่งกาย   ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย  และเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดเอว สวมงอบ   และ  จะไม่ใส่รองเท้า
ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอก    สีดำหรือเป็นสีพื้นก็ได้    และไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย
ดนตรีที่ใช้  ตามแบบฉบับของชาวบ้านแบบเดิมไม่มีดนตรีประกอบเพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะปรบมือ และร้อง เฮ้  เฮ้ว ให้เข้าจังหวะ
รำวง


                            รำวง
วิวัฒนาการมาจากรำโทน  เพลงร้องได้มีการกำหนดท่ารำของแต่ละเพลงไว้โดยเฉพาะ  เช่น  เพลงงามแสงเดือน ใช้ท่าสอดสร้อยมาลาเป็นท่ารำ  เพลงชาวไทยใช้ท่าชักแป้งผัดหน้า  เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญใช้ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ เป็นต้น  เพลงรำวงที่กำหนดท่ารำโดยใช้ท่ารำแม่บทดังกล่าวนี้เรียกว่า รำวงมาตรฐาน   นิยมในงานรื่นเริงแทนการเต้นรำ   และยังจัดเป็นชุดนาฏศิลป์ไทยที่นำไปแสดงเพื่อความบันเทิงได้อีกด้วย
        กำหนดการแต่งกายของผู้เล่นรำวงให้เป็นระเบียบ  เช่น  ผู้ชายแต่งชุดสากล  ผู้หญิงแต่งชุดเสื้อกระโปรง    หรือชุดไทยพระราชนิยม  ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน  สวมเสื้อคอกลม   มีผ้าคาดเอว   ผู้หญิงแต่งชุดไทย  เป็นต้น
        การเล่นรำวง  นอกจากจะเป็นที่นิยมของชาวไทยแล้ว  ชาวต่างชาติก็ยังนิยมเล่นรำวงด้วยเพลง     รำวงที่ต่างชาติรู้จักและมักจะร้องกันได้  คือ  เพลงลอยกระทง  การเล่นรำวงจะเล่นได้ทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริงหรือมีการแสดงนาฏศิลป์ไทย ในการนำนาฏศิลป์ไทยไปแสดงที่ต่างประเทศในบางครั้ง  เมื่อจบการแสดงแล้ว    จะมีการเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติ  ขึ้นมาร่วมรำวงกับผู้แสดงชายและหญิงของคณะนาฏศิลป์ไทย   นับเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างคณะนาฏศิลป์ไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาชมการแสดง  อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ศิลปะการเล่นรำวงให้แพร่หลายไปในนานาประเทศอีกด้วย
รำกลองยาว


ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง มีผู้เล่าให้ฟังเป็นเชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง เมื่อชาวไทยเห็นว่ารำกลองยาวเป็นการเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่ายก็นิยมเล่นกันไปแทบ ทุกบ้านทุกเมืองมาจนทุกวันนี้
เครื่องดนตรี กลองยาว กรับ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
การแต่งกาย
๑. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
๒. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อทรงกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ คาดเข็มขัดทับเสื้อ ใส่สร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้
โอกาสและวิธีการเล่น นิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรืองานแห่แหน ซึ่งต้อง เดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไป รำด้วยก็ได้ เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนมีลานกว้างหรือเหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นกันก่อนพักหนึ่งแล้วเคลื่อนไปต่อ การเล่นเถิดเทิงกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ กำหนดให้มีแบบแผนลีลาท่ารำ โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืนด้วย
กลองรำ หมายถึง ผู้ที่แสดงลวดลายในการร่ายรำ กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนให้จังหวะในการรำ การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อน คนดูจะได้เห็นความงามและความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมเล่นด้วยก็ตาม จำนวนผู้แสดงแบบนี้จะมีเป็นชุด คือ พวกตีเครื่องประกอบจังหวะ คนตีกลองยืน คนตีกลองรำ และผู้หญิงที่รำล่อ พวกตีประกอบจังหวะ จะร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนานในขณะที่ตีด้วย เช่น
“มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า”
“ต้อนเข้าไว้ ต้อนเขาไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่าเอาไปหุงข้าวให้พวกเรากินตะละล้า”
“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า”
ที่เรียกการเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกกันตามเสียงกลองยาว กล่าวคือมีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด – เทิง – บ้อง – เทิง – บ้อง” เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอื่น

วัฒนธรรมการแสดงพื้นเมืองภาคใต้

การแสดงพื้นเมืองภาคใต้

เป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้  2  กลุ่มคือ  วัฒนธรรมไทยพุทธ  ได้แก่  การแสดงโนรา  หนังตะลุง  เพลงบอก  เพลงนา  และวัฒนธรรมไทยมุสลิม  ได้แก่  รองเง็ง  ซำแปง  มะโย่ง  (การแสดงละคร)  ลิเกฮูลู  (คล้ายลิเกภาคกลาง)  และซิละ  มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ  เช่น  กลองโนรา  กลองโพน  กลองปืด   โทน  ทับ  กรับพวง  โหม่ง  ปี่กาหลอ  ปี่ไหน  รำมะนา  ไวโอลิน  อัคคอร์เดียน  ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต  ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่  การีดยาง  ปาเตต๊ะ  เป็นต้น
ตัวอย่าง
โนรา
        โนรา   เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ในบรรดาศิลปะการแสดงของภาคใต้            มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี   การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็นสำคัญ    ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดงเรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ว่า   มโนห์รา
        ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา  มีความเป็นมาหลายตำนาน  เช่น ตำนานโนรา   จังหวัดตรัง   จังหวัดนครศรีธรรมราช   จังหวัดสงขลา   และจังหวัดพัทลุง     มีความแตกต่างกันทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่องบางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจาก ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน   จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตกต่างกัน
  จากการศึกษาท่ารำอย่างละเอียดจะเห็นว่าท่ารำที่สืบทอดกันมานั้น  ได้มาจากความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ    เช่น   ท่าลีลาของสัตว์บางชนิดมี   ท่ามัจฉา   ท่ากวางเดินดง    ท่านกแขกเต้าเข้ารัง   ท่าหงส์บิน  ท่ายูงฟ้อนหาง ฯลฯ  ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด  ท่ากระต่ายชมจันทร์  ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ามาก็มี  ท่าพระลักษมณ์แผลงศร  พระรามน้าวศิลป์  และท่าพระพุทธเจ้าห้ามมาร   ท่ารำและศิลปะการรำต่างๆ  ของโนรา    ท่านผู้รู้หลายท่านเชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทยด้วย
    ท่ารำโนรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ของภาคกลางแล้วจะรำท่าของโนราไม่สวย   เพราะการทรงตัว  การทอดแขน  ตั้งวงหรือลีลาต่างๆ ไม่เหมือนกัน  ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามจะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว  ดังนี้
        ช่วงลำตัว     จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ     หลังจะต้องแอ่นและลำตัวยื่นไปข้างหน้า     ไม่ว่าจะรำท่าไหน  หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวเช่นนี้เสมอ
        ช่วงวงหน้า   วงหน้า  หมายถึง ส่วนลำคอกระทั่งศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ
        ช่วงหลัง      ส่วนก้นจะต้องงอนเล็กน้อย
        การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  การรำโนรานั้น  ลำตัวหรือทุกส่วนจะต้องย่อลงเล็กน้อย  นอกจาก   ย่อลำตัวแล้วเข่าจะต้องย่อลงด้วย
  วิธีการแสดง  การแสดงโนรา   เริ่มต้นจากการลงโรง   (โหมโรง)กาดโรงหรือกาดครู  (เชิญครู)   “พิธีกาดครู”  ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก  ฉะนั้นก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู  เชิญครูมาคุ้มกันรักษา  หลายตอนมีการรำพัน  สรรเสริญครู  สรรเสริญคุณมารดา  เป็นต้น
การแต่งกาย  การแต่งกายของโนรา  ยกเว้นตัวพรานกับตัวตลก  จะแต่งเหมือนกันหมด  ตามขนบธรรมเนียม  เดิมการแต่งกายก็ถือเป็นพิธีทางไสยศาสตร์  ในพิธีผูกผ้าใหญ่ (คือพิธีไหว้ครู) จะต้องนำเทริดและเครื่องแต่งกายชิ้นอื่นๆ  ตั้งบูชาไว้บนหิ้ง   หรือ “พาไล”  และเมื่อจะสวมใส่เครื่องแต่งกายแต่ละชิ้นจะมีคาถากำกับ โดยเฉพาะการสวม  “เทริด”  ซึ่งมักจะต้องใช้ผ้ายันต์สีขาวโพกศีรษะเสียก่อนจึงจะสวมเทริดทับ  เทริด คือ เครื่องสวมหัวโนรา  เดิมนั้นเทริดเป็นเครื่องทรงกษัตริย์ทางอาณาจักรแถบใต้  อาจเป็นสมัยศรีวิชัยหรือศรีธรรมราช  เมื่อโนราได้เครื่องประทานจากพระยาสายฟ้าฟาดแล้วก็เป็นเครื่องแต่งกายของโนราไป   สมัยหลังเมื่อจะทำเทริดจึงมีพิธีทางไสยศาสตร์เข้าไปด้วย 
วงดนตรีประกอบ
            เครื่องดนตรีโนรามี  ๒  ประเภทคือ
๑.   ประเภทเครื่องตี  ได้แก่  กลองทับ  โหม่ง  (ฆ้องคู่)  ฉิ่ง  แกระ  หรือ  แตระ  (ไม้ไผ่ ๒  อัน ใช้ตีให้จังหวะ)
๒.     ประเภทเครื่องเป่า  ได้แก่  ปี่
โอกาสที่แสดง    การแสดงโนรามีแสดงทั่วไปในภาคใต้  แต่เดิมได้รับความนิยมมาก จึงแสดงเพื่อความบันเทิงไม่นิยมแสดงในงานศพและในงานมงคลสมรส ถ้าเป็นงานใหญ่ก็มักจะให้แข่งขัน หรือประชันกันซึ่งทำมากเมื่อ ๔๐  ปีก่อน
รองเง็ง

รองเง็ง
การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน เดิมการเต้นรองเง็งจะมีลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า ๑๐ เพลง แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง ๗ เพลงเท่านั้น
วิธีการแสดง การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ ๕ คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร ความสวยงามของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ ลำตัว และลีลาการร่ายรำ ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง และความไพเราะของดนตรีประกอบกัน
การแต่งกาย ผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง สวมหมวกไม่มีปีก หรือใช้หมวกแขกสีดำ นุ่งกางเกงขายาวกว้างคล้ายกางเกงจีน สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงเรียกว่า ซอแกะ
เครื่องดนตรี และเพลงประกอบ ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็ง มีเพียง ๓ อย่าง คือ
๑. รำมะนา
๒. ฆ้อง
๓. ไวโอลิน
โอกาสที่แสดง เดิมรองเง็งแสดงในงานต้อนรับแขกเมืองหรืองานพิธีต่างๆ ต่อมานิยมแสดงในงานรื่นเริง เช่น งานประจำปี งานอารีรายอ ตลอดจนการแสดงโชว์ในโอกาสต่างๆ เช่น งานแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ระบำตารีกีปัส
ตารีกีปัสเป็นระบำที่ต้องอาศัยพัดเป็นองค์ประกอบสำคัญ เป็นการแสดงที่แพร่หลายในหมู่ชาวไทยมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดปัตตานี และได้ทำชื่อเสียงให้กับจังหวัดปัตตานี เมื่อคัดเลือกการแสดงชุดนี้ใช้แสดงในงานเปิดกีฬาเขต ครั้งที่ ๑๔ ซึ่งจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพ
ลีลาของการแสดง อาจจะมีพลิกแพลงแตกต่างกันไป สำหรับการแสดงชุดนี้ ได้ปรับปรุงท่ารำ เพื่อให้เหมาะสมกับการแสดงที่เป็นหญิงล้วน
เครื่องดนตรีประกอบการแสดง ได้แก่ ไวโอลิน แมนตาลิน ขลุ่ย รำมะนา ฆ้อง มาลากัส บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง เพลงตารีกีปัส เป็นเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง บรรเลงดนตรีล้วนๆ มีท่วงทำนองไพเราะอ่อนหวาน สนุกสนานเร้าใจ ความไพเราะของเพลงตารีกีปัส อยู่ที่การ Solo เสียงดนตรีทีละชิ้น
ลิเกฮูลู
ลิเกฮูลู หรือ ดีเกฮูลู เป็นการละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรี และจังหวะตบมือ มีรากฐานเดิมมาจากคำว่า ลิเก คือการอ่านทำนองเสนาะ และคำว่า ฮูลู ซึ่งหมายถึง ทิศใต้ ซึ่งเมื่อรวมความแล้ว คือ การขับกลอนเป็นทำนองเสนาะจากทิศใต้ บทกลอนที่ใช้ขับเรียกว่า ปันตน หรือ ปาตง ในภาษามลายูถิ่นปัตตานี
ผู้รู้บางท่านได้กล่าวไว้ว่า ลิเกฮูลู เกิดขึ้นเริ่มแรกที่อำเภอรามัน ซึ่งไม่ทราบแน่นอนว่าผู้ริเริ่มนี้คือใคร ชาวปัตตานีเรียกคนในอำเภอรามันว่า คนฮูลู แต่ชาวมาเลเซียเรียกศิลปะชนิดนี้ว่า ดีเกปารัต ซึ่ง ปารัต แปลว่า เหนือ จึงเป็นที่ยืนยันได้ว่า ลิเกฮูลู หรือ ดีเกปารัต นี้มาจากทางทิศเหนือของประเทศมาเลเซียและอยู่ทางตอนใต้ของปัตตานี
ลักษณะการแสดง ลิเกฮูลูคณะหนึ่งๆ จะมีประมาณ ๑๐ คน เป็นชายล้วน มีต้นเสียง ๑ -๓ คน ที่เหลือจะเป็นลูกคู่ เวทีลิเกฮูลู จะยกพื้นสูงประมาณ ๑ เมตร เปิดโล่งไม่มีม่าน ไม่มีฉาก ลูกคู่ขึ้นไปนั่งล้อมวงร้องรับและตบมือโยกตัวให้เข้ากับจังหวะดนตรี ส่วนผู้ร้องหรือผู้โต้กลอนจะลุกขึ้นยื่นข้างๆ วงลูกคู่ ถ้ากรณีมีการประชันกัน แต่ละคณะจะขึ้นนั่งบนเวทีด้วยกัน แต่ล้อมวงแยกกันพอสมควร การแสดงที่ผลัดกันร้องทีละรอบทั้งรุกและรับเป็นที่ครึกครื้นสบอารมณ์ของผู้ชม
ลิเกฮูลู เริ่มต้นด้วยการแสดงด้วยดนตรีที่ใช้โหมโรงเป็นการเรียกผู้ชม ต่อจากนั้นนักร้องออกมาร้องเพลงในจังหวะต่างๆ ทีละคน เนื้อร้องกล่าวถึงความประสงค์ในการเล่น แล้วจึงเริ่มแสดง ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวของเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหาท้องถิ่นหรือเรื่องตลกโปกฮา ผู้แสดงจะต้องใช้คารมและปฏิภาณ ให้ทั้งความรู้และความบันเทิงแก่ผู้ชม
การแต่งกาย ผู้เล่นลิเกฮูลูนิยมนุ่งกางเกงขายาว นุ่งผ้าซอแกะทับข้างนอกสั้นเหนือเข่า สวมเสื้อคอกลมมีผ้าโพกศีรษะ
เครื่องดนตรีประกอบ เล่นลิเกฮูลู ประกอบด้วยรำมะนา อย่างน้อย ๒ ใบ ใช้ตีดำเนินจังหวะในการแสดง ฆ้อง เป็นเครื่องกำกับจังหวะ ตีสม่ำเสมอประกอบการร้อง นอกจากนี้ยังมีเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบและเป็นที่นิยมกันว่า ทำให้ครึกครื้น สนุกสนานไพเราะมากยิ่งขึ้น เช่น ขลุ่ย ลูกแซก แต่จังหวะที่ใช้เป็นประเพณีในการละเล่นคือ การตบมือ
โอกาสที่ใช้แสดง ลิเกฮูลูนิยมแสดงในงานมาแกปูโละ พิธีเข้าสุนัต และงานฮารีรายอ

วัฒนธรรมการแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง

เป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น

เต้นกำรำเคียว

เต้นกำรำเคียว     เป็นเพลงพื้นเมืองของชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์     นิยมเล่นตามท้องนาในฤดูกาลลงแขกเกี่ยวข้าว    ร้องเล่นกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน      ผ่อนคลายจากความเหน็ด
โอกาสที่เล่น  เล่นกันในฤดูเกี่ยวข้าว ขณะที่มีการเกี่ยวข้าวนั้น เขามักจะมีการร้องเพลงเกี่ยวข้าวไปด้วย โดยร้องแก้กันระหว่างฝ่ายชายกับฝ่ายหญิง และเมื่อหยุดพักการเกี่ยวข้าวประมาณตะวันบ่ายคล้อยแล้ว  การเต้นกำรำเคียวจึงเริ่มเล่น
วิธีการเล่น  จะแบ่งผู้เล่นเป็น  ๒  ฝ่าย  คือ ฝ่ายชาย  เรียกว่า  พ่อเพลง ฝ่ายหญิง เรียกว่า แม่เพลง เริ่มด้วยพ่อเพลงร้องชักชวนแม่เพลงให้ออกมาเต้นกำรำเคียว     โดยร้องเพลงและเต้นออกไปรำล่อ  ฝ่ายหญิงและแม่เพลงก็ร้องและรำแก้กันไป   ซึ่งพ่อเพลงแม่เพลงนี้อาจจะเปลี่ยนไปหลายๆ คน ช่วยกัน    ร้องจนกว่าจะจบเพลง  ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นพ่อเพลงแม่เพลงก็ต้องเป็นลูกคู่
การแต่งกาย   ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย  และเสื้อกุยเฮงสีดำ มีผ้าขาวม้าคาดเอว สวมงอบ   และ  จะไม่ใส่รองเท้า
ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบนและเสื้อแขนกระบอก    สีดำหรือเป็นสีพื้นก็ได้    และไม่สวมรองเท้าผู้แสดงทุกคนต้องถือเคียวในมือขวาและถือรวงข้าวในมือซ้ายด้วย
ดนตรีที่ใช้  ตามแบบฉบับของชาวบ้านแบบเดิมไม่มีดนตรีประกอบเพียงแต่ลูกคู่ทุกคนจะปรบมือ และร้อง เฮ้  เฮ้ว ให้เข้าจังหวะ
รำวง


                            รำวง
วิวัฒนาการมาจากรำโทน  เพลงร้องได้มีการกำหนดท่ารำของแต่ละเพลงไว้โดยเฉพาะ  เช่น  เพลงงามแสงเดือน ใช้ท่าสอดสร้อยมาลาเป็นท่ารำ  เพลงชาวไทยใช้ท่าชักแป้งผัดหน้า  เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญใช้ท่าแขกเต้าเข้ารัง และท่าผาลาเพียงไหล่ เป็นต้น  เพลงรำวงที่กำหนดท่ารำโดยใช้ท่ารำแม่บทดังกล่าวนี้เรียกว่า รำวงมาตรฐาน   นิยมในงานรื่นเริงแทนการเต้นรำ   และยังจัดเป็นชุดนาฏศิลป์ไทยที่นำไปแสดงเพื่อความบันเทิงได้อีกด้วย
        กำหนดการแต่งกายของผู้เล่นรำวงให้เป็นระเบียบ  เช่น  ผู้ชายแต่งชุดสากล  ผู้หญิงแต่งชุดเสื้อกระโปรง    หรือชุดไทยพระราชนิยม  ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน  สวมเสื้อคอกลม   มีผ้าคาดเอว   ผู้หญิงแต่งชุดไทย  เป็นต้น
        การเล่นรำวง  นอกจากจะเป็นที่นิยมของชาวไทยแล้ว  ชาวต่างชาติก็ยังนิยมเล่นรำวงด้วยเพลง     รำวงที่ต่างชาติรู้จักและมักจะร้องกันได้  คือ  เพลงลอยกระทง  การเล่นรำวงจะเล่นได้ทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริงหรือมีการแสดงนาฏศิลป์ไทย ในการนำนาฏศิลป์ไทยไปแสดงที่ต่างประเทศในบางครั้ง  เมื่อจบการแสดงแล้ว    จะมีการเชิญชวนแขกผู้มีเกียรติ  ขึ้นมาร่วมรำวงกับผู้แสดงชายและหญิงของคณะนาฏศิลป์ไทย   นับเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีระหว่างคณะนาฏศิลป์ไทยและชาวต่างชาติที่เข้ามาชมการแสดง  อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ศิลปะการเล่นรำวงให้แพร่หลายไปในนานาประเทศอีกด้วย
รำกลองยาว


ประเพณีการเล่นเทิงบ้องกลองยาว หรือ เถิดเทิง มีผู้เล่าให้ฟังเป็นเชิงสันนิษฐานว่าเป็นของพม่า พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง เมื่อชาวไทยเห็นว่ารำกลองยาวเป็นการเล่นที่สนุกสนาน และเล่นได้ง่ายก็นิยมเล่นกันไปแทบ ทุกบ้านทุกเมืองมาจนทุกวันนี้
เครื่องดนตรี กลองยาว กรับ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
การแต่งกาย
๑. ชาย นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง สวมเสื้อคอกลม แขนสั้น เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว
๒. หญิง นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อทรงกระบอกคอปิด ผ่าอกหน้า ห่มสไบทับเสื้อ คาดเข็มขัดทับเสื้อ ใส่สร้อยคอและต่างหู ปล่อยผมทัดดอกไม้
โอกาสและวิธีการเล่น นิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรืองานแห่แหน ซึ่งต้อง เดินเคลื่อนขบวน เช่น ในงานแห่นาค แห่พระ และแห่กฐิน เป็นต้น คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไป รำด้วยก็ได้ เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน เคลื่อนไปกับขบวน พอถึงที่ตรงไหนมีลานกว้างหรือเหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นกันก่อนพักหนึ่งแล้วเคลื่อนไปต่อ การเล่นเถิดเทิงกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่ กำหนดให้มีแบบแผนลีลาท่ารำ โดยกำหนดให้มีกลองรำ กลองยืนด้วย
กลองรำ หมายถึง ผู้ที่แสดงลวดลายในการร่ายรำ กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนให้จังหวะในการรำ การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อน คนดูจะได้เห็นความงามและความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมเล่นด้วยก็ตาม จำนวนผู้แสดงแบบนี้จะมีเป็นชุด คือ พวกตีเครื่องประกอบจังหวะ คนตีกลองยืน คนตีกลองรำ และผู้หญิงที่รำล่อ พวกตีประกอบจังหวะ จะร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนานในขณะที่ตีด้วย เช่น
“มาแล้วโหวย มาแล้ววา มาแต่ของเขา ของเราไม่มา ตะละล้า”
“ต้อนเข้าไว้ ต้อนเขาไว้ เอาไปบ้านเรา พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่าเอาไปหุงข้าวให้พวกเรากินตะละล้า”
“ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว ใครมีลูกสาว มาแลกลูกเขย เอาวะ เอาเหวย ลูกเขยกลองยาว ตะละล้า”
ที่เรียกการเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกกันตามเสียงกลองยาว กล่าวคือมีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด – เทิง – บ้อง – เทิง – บ้อง” เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป เพื่อให้ต่างกับการเล่นอื่น

วัฒนธรรมการแสดงพื้นเมืองของภาคเหนือ

การแสดงพื้นเมืองภาคเหนือ

         เป็นศิลปะการรำ  และการละเล่น  หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า  “ฟ้อน”  การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา  และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ  เช่น  ชาวไต  ชาวลื้อ  ชาวยอง  ชาวเขิน  เป็นต้น  ลักษณะของการฟ้อน  แบ่งเป็น  2  แบบ  คือ  แบบดั้งเดิม  และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่  แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า  อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง
ฟ้อนเทียน 

                ฟ้อนเทียน เป็นการฟ้อนที่มีลักษณะศิลปะที่อ่อนช้อยงดงาม   ลักษณะการแสดงไม่ต่างจากการแสดงฟ้อนเล็บ  ถ้าเป็นการแสดงฟ้อนเทียน  นิยมแสดงในเวลากลางคืนเพื่อเน้นความสวยงามของแสงเทียนระยิบระยับสว่างไสว จุดเด่นของการแสดงชนิดนี้ จึงอยู่ที่แสงเทียนที่ผู้แสดงถือในมือข้างละ ๑ เล่ม   เข้าใจว่าการฟ้อนเทียนนี้แต่เดิมคงจะใช้เป็นการแสดงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์     เพื่อเป็นการสักการะเทพเจ้าที่เคารพนับถือในงานพระราชพิธีหลวง ตามแบบฉบับล้านนาของทางภาคเหนือของไทย   ผู้ฟ้อนมักใช้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้น ในสมัยปัจจุบันการแสดงชุดนี้จึงไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักจะสังเกตเห็นว่าความสวยงามของการฟ้อนอยู่ที่การบิดข้อมือที่ถือเทียนอยู่  แสงวับๆ แวมๆ จากแสงเทียนจึงเคลื่อนไหวไปกับความอ่อนช้อยลีลา และลักษณะของเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบนับเป็นศิลปะที่น่าดูอย่างยิ่งแบบหนึ่ง                 
   การแต่งกาย            ใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วน นิยมแสดงหมู่คราวละหลายคน โดยจำนวนคนเป็นเลขคู่ เช่น ๘ หรือ ๑๐ คน    แล้วแต่ความยิ่งใหญ่ของงานนั้น   และความจำกัดของสถานที่  โดยผู้แสดงแต่งกายแบบฟ้อนเล็บ คือ การสวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นมีเชิงกรอมเท้า มุ่นผมมวย มีอุบะห้อยข้างศีรษะ ในมือเป็นสัญลักษณ์  คือ  ถือเทียน ๑ เล่ม   การแต่งกายของฟ้อนเทียนนี้  ปัจจุบันแต่งได้อีกหลายแบบ  คืออาจสวมเสื้อในรัดอก ใส่เสื้อลูกไม้ทับแต่อย่างอื่นคงเดิม  และอีกแบบคือสวมเสื้อรัดอก  แต่มีผ้าสไบเป็นผ้าทอลายพาดไหล่อย่างสวยงาม  แต่ยังคงนุ่งซิ่นกรอมเท้าและมุ่นผมมวย  มีอุบะห้อยศีรษะ
                โอกาสที่แสดง   ในงานพระราชพิธี   หรือวันสำคัญทางศาสนา  ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองชาวต่างชาติ   และในงานประเพณีสำคัญตามแบบฉบับของชาวล้านนา    
                                   ฟ้อนเงี้ยว
                ฟ้อนเงี้ยว

ฟ้อนเงี้ยว  เป็นการฟ้อนที่ได้รับอิทธิพลมาจากการฟ้อนของเงี้ยวหรือไทยใหญ่  ประกอบด้วย  ช่างฟ้อนหญิงชายหลายคู่  แต่งกายด้วยชุดพื้นเมืองไทยใหญ่  การฟ้อนเงี้ยวเหมาะสำหรับผู้ชาย แต่ต่อมาเพื่อให้เกิดความสวยงาม   จึงมีการใช้ผู้หญิงล้วน   หรือใช้ทั้งชายและหญิงแสดงเป็นคู่ๆ  มีลีลาการฟ้อนที่แปลกแตกต่างไปจากฟ้อนเล็บ  ฟ้อนเทียน 
การแต่งกาย  จะเลียนแบบการแต่งกายของชาวไทยใหญ่ โดยมีการดัดแปลงเครื่องแต่งกายออกไปบ้าง   โดยใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก  นุ่งโสร่งสั้นเพียงเข่า  หรือกางเกงขากว้างๆ   หรือบ้างก็นุ่งโสร่งเป็นแบบโจงกระเบนก็มี ใช้ผ้าโพกศีรษะ มีผ้าคาดเอว ใส่เครื่องประดับ เช่น กำไลมือ กำไลเท้า  สร้อยคอ และใส่ตุ้มหู
โอกาสที่ใช้แสดง      แสดงในงานรื่นเริงทั่วไป

ฟ้อนเล็บ


เป็นศิลปะการแสดงภาคเหนือที่มีความงดงาม อ่อนช้อยลีลาการฟ้อนเล็บ จะแสดงออกถึงความพร้อมเพรียงของผู้แสดง เพราะการฟ้อนเล็บจะแสดงเป็นหมู่ การฟ้อนเล็บมักแสดงในงานมงคลต่าง ๆ
           การแต่งกายของผู้เล่นฟ้อนเล็บ ผู้ฟ้อนนุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนยาว ห่มสไบ ผมเกล้าแบบผมมวยสูง ติดดอกไม้ ห้อยอุบะ ปล่อยชายลงข้างแก้ม สวมเล็บยาวตรงนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง นิ้วก้อย ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ

วัฒนธรรมในการใช้ภาษา

วัฒนธรรมในการใช้ภาษา: การใช้ภาษา สุภาพ-ไม่สุภาพ
โดย.... คุณนิชาพร  ยอดมณี
อาจารย์ประจำสายวิชาภาษา คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)

          “วัฒนธรรม” เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเรานับแต่เกิดจนตาย พระยาอนุมานราชธน นักปราชญ์และนักการศึกษาคนสำคัญ
ของไทย ได้กล่าวไว้ว่า “วัฒนธรรม” คือ สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงปรับปรุงหรือผลิตขึ้น สร้างขึ้นเพื่อความเจริญงอกงามในวิถีของส่วนรวม
ถ่ายทอดกันไว้ เอาอย่างกันไว้ รวมทั้งผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา ตลอดจนความรู้สึก
ความคิดเห็น และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ในส่วนรวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาได้ปรากฏเป็นศิลปะ
ความเชื่อ ระเบียบประเพณี ทั้งนี้รวมถึง “ภาษา” ด้วย


ภาพจาก Web Site
http://www.gotoknow.org/blog/kataynoi00/228365
ณ วันที่ 16-9-54
วัฒนธรรมกับภาษา
          เราอาจมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง “วัฒนธรรม” กับ “ภาษา” ได้หลายลักษณะด้วยกัน อาจมองในลักษณะ “การใช้ภาษาอย่างมี
วัฒนธรรม” หรือ “วัฒนธรรมที่แสดงออกในภาษา” ก็ได้ ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและภาษา เช่น คนจีนเมื่อเวลาพบกันจะ
ถามว่า “เจี๊ยะ ฮ้อ บ่วย” แปลว่า ทานข้าวหรือยัง คือทักกันด้วยเรื่องกิน เพราะเมืองจีนคนมากอาหารการกินอัตคัด เรื่องที่ห่วงใยกันหรือ
ที่ต้องคิดถึงก่อนก็คือเรื่องการกิน หรือเจ้าของบ้านญี่ปุ่น มักจะคะยั้นคะยอให้แขกรับประทานอาหาร เพื่อแสดงความตั้งใจจะเลี้ยงจริงๆ
และแสดงความเต็มใจต้อนรับ ในขณะที่คนอเมริกันกลับเฉยๆ กับเรื่องการคะยั้นคะยอดังกล่าว ทำให้ดูเหมือนว่าคนอเมริกันไม่ได้ห่วงใย
หรือตั้งใจเชิญให้แขกรับประทานอาหารจริง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นวัฒนธรรมที่สามารถมองเห็นได้จากการใช้ภาษา และเป็นวัฒนธรรม
ของแต่ละชาติ ที่ทำให้คนชาตินั้นๆ พูดประโยคอะไรหรือไม่พูดประโยคอะไร ซึ่งแต่ละชาติก็มักจะมีความแตกต่างกันไป

การใช้ภาษาสุภาพ-ไม่สุภาพ
          ประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่แสดงออกในภาษาหลายประการ ในที่นี้จะกล่าวถึงวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับ คำสุภาพ ไม่สุภาพ ซึ่งปรากฏชัด
ในการใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งมีข้อกำหนดที่เป็นระเบียบแบบแผน เป็นตัวอย่างการใช้ภาษาสุภาพที่ชัดเจน นอกจากนั้นคนไทยยังกำหนดราย
ละเอียดว่าเรื่องใด ถ้อยคำใดที่ควรพูดหรือไม่ควรพูด หยาบคายหรือสุภาพ เป็นคำพูดอย่างขี้ข้าหรืออย่างผู้ดีอีกด้วย ซึ่งการใช้คำพูดอย่าง
ขี้ข้าหรือผู้ดีในที่นี้ ไม่ได้เป็นการวัดกันด้วยฐานะทางสังคมหรือเศรษฐกิจแต่อย่างใด แต่วัดกันด้วยวัฒนธรรม วัดกันด้วยความรู้มากกว่า
ว่าอะไรควรพูด อะไรไม่ควรพูด อะไรเสียหาย อะไรไม่เสียหาย
          ในปัจจุบันคนไทยจะคำนึงถึงการใช้ภาษาสุภาพ ไม่สุภาพน้อยลง ทั้งนี้อาจเกิดจากความไม่สนใจ และไม่ได้ให้ความสำคัญกับ
วัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทยมากนัก อีกทั้งอาจเกิดจากสภาพสังคมที่เร่งรีบในปัจจุบันมีส่วนทำให้คนในสังคมสนใจแต่เฉพาะสารที่ต้อง
การสื่อเท่านั้น เพราะต้องการความรวดเร็วในการสื่อสาร วัฒนธรรมในการใช้ภาษา โดยเฉพาะการใช้ภาษาสุภาพ ไม่สุภาพ จึงถูกละเลยไป
ทั้งนี้หากการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพนั้น เกิดจากความไม่รู้หรือความสับสน เพราะไม่เคยใช้หรือไม่มีโอกาสใช้ภาษาดังกล่าว ผู้ใช้ก็สามารถ
เรียนรู้การใช้ภาษาอย่างสุภาพต่อไปได้ แต่การใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ ที่เกิดจากเจตนาของผู้ใช้ตั้งใจใช้เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องนั้น เป็น
สิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขและควรปรับปรุงเป็นอย่างยิ่ง และผู้ใช้ก็ควรจะปรับเปลี่ยนทัศนคติและทำความเข้าใจภาษาให้ถูกต้องต่อไปด้วย
ทั้งนี้จะเป็นการช่วยธำรงภาษาไทยอันดีงามไว้ได้ทางหนึ่ง

ตัวอย่างการใช้ภาษาสุภาพ-ไม่สุภาพ
          การใช้ภาษาที่ไม่สุภาพนั้น เราอาจเรียกได้ว่าเป็น “มลพิษทางภาษา” เป็นมลพิษอย่างหนึ่งที่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง
แต่ได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนไทยอยู่ทุกวันนี้ มลพิษทางภาษานี้ปรากฏอยู่ทั่วไปตามที่สาธารณะ เช่น คำด่า คำหยาบ คำท้าทายที่
บรรดามือที่ชั่วช้าของสถาบันการศึกษาต่างๆ เขียนตามที่สาธารณะบ้าง รั้วบ้าน ประตูบ้านของผู้อื่นบ้าง เป็นทั้งการประจานตัวเองและทำ
ให้บ้านเมืองสกปรกทั่วไปหมด นอกจากนี้ยังทำร้ายจิตวิญญาณของลูกหลานไทยอีกด้วย มลพิษทางภาษามีมากมาย สามารถแบ่งได้เป็น
ประเภทต่างๆ ตามแหล่งที่พบการใช้ภาษาไม่สุภาพ ดังนี้
          ๑. สถานที่สาธารณะต่างๆ อย่างจารึกของบรรดานักเรียนนักศึกษาที่จารึกไว้ตามรั้วบ้าน และสถานที่ราชการ ตลอดจนตู้โทรศัพท์
สาธารณะและที่อื่นๆ อันพอจะขีดเขียนหรือพ่นเป็นตัวหนังสือได้ โดยส่วนมากผู้ใช้ภาษามักกล่าวว่า โรงเรียนนี้เป็นพ่อโรงเรียนนั้น โรงเรียน
โน้นเป็นพวกสัตว์เลื้อยคลานที่คนไทยรังเกียจ เป็นต้น นอกจากนี้ตามท้องถนนยังพบวรรณกรรมประเภทหนึ่ง เรียกว่า “วรรณกรรมรถ
บรรทุก” คือ ถ้อยคำที่เขียนไว้ตามส่วนต่างๆ ของรถบรรทุก ซึ่งมีทั้งการใช้ภาษาที่ดี อย่างคติต่างๆ เช่น “สุขใจแต่ไร้เกียรติ” “ขับช้าถึงที่
หมาย ขับไวถึงป่าช้า” “เงินจางนางจร” เป็นต้น และก็มีข้อความเป็นจำนวนมากเช่นกันที่เป็นการใช้ภาษาไม่สุภาพ เช่น การใช้คำแสดง
อารมณ์ฉุนเฉียว เช่น “ตามล่าอีตอแหล” “แซงไม่ว่า ปาดหน้าโดนเหยียบ” หรือการใช้คำลามกต่างๆ อย่างเบาที่สุด เช่น “อย่าจูบตูดหนู”
เป็นต้น คำหยาบคำลามกดังกล่าวไม่ใช่แต่ถูกปล่อยปละละเลยให้เขียนขึ้นเท่านั้น ยังปล่อยให้เผยแพร่ตามเส้นทางที่รถวิ่งทั่วทั้งประเทศ
ไทยอีกด้วย นับเป็นระบบการสอนทางไกลแบบหนึ่งก็ว่าได้ นอกจากนี้ตามโรงภาพยนตร์ชั้นสอง ก็มักจะได้เห็นชื่อภาพยนตร์หรือคำโฆษณา
ที่อาจทำให้วัยรุ่นเสียคนได้ เช่น “ระเริงเรียน ระเริงรัก ฉายวันนี้ ควบกับ ไฟสวาทสาวใหญ่” “ทีเด็ดรสสวาท” เป็นต้น
          ๒. หนังสือการ์ตูน หนังสือการ์ตูนเป็นแหล่งที่เด็กและวัยรุ่นรู้จักเป็นอย่างดี หนังสือเหล่านี้จำนวนไม่น้อยที่มีทั้งภาพและคำบรรยาย
ที่ลามกอนาจารเต็มขั้น ผู้ปกครองบางคนอาจคิดว่าเป็นเด็กเพียงแต่อ่านการ์ตูน แต่ไม่อาจรู้เลยว่าการ์ตูนหลายเรื่องที่ลูกติดนั้นเต็มไปด้วย
คำด่า คำบรรยายเรื่องเพศอย่างหยาบๆ จนเด็กเหล่านั้นนำมาเลียนแบบพูดคำหยาบ พูดคำลามกตามกันที่โรงเรียน และเลยมาพูดที่บ้าน
ด้วย นอกจากนี้ยังมีหนังสือประเภททะลึ่งทะเล้นที่วางขายอยู่บนแผงหนังสือทั่วไปเช่นกันที่ทำให้เยาวชนนำภาษาไม่สุภาพเหล่านี้ไปใช้ เช่น
“คุณตะกวนไช กรามใหญ่ จะเดินทางไปตีหม้อที่โรงแรม ๘๐๐ เย็นนี้... หายแล้ว คุณนายชูวับ ขยับรู หลังจากที่นอนป่วยมานาน...” เป็นต้น
หนังสือเหล่านี้จะเป็นตัวสอนและแพร่คำพูดที่ไม่ดีให้แก่เด็กๆ ได้ เมื่อเด็กได้พูดกันจนชินปาก ฟังกันจนชินหูแล้ว ก็ไม่รู้สึกว่าเสียหาย บ้าน
เมืองหรือโรงเรียนจะอบรมอย่างไรก็จะไม่ได้ผล


ภาพจาก Web Site
http://www.jokergameth.com/board/showthread.php?t=153182
ณ วันที่ 17-9-54
          ๓. โทรทัศน์ โทรทัศน์เป็นแหล่งมลพิษทางภาษาอีกแหล่งหนึ่ง เมื่อก่อนมักพบอยู่ในโฆษณา เช่น โฆษณาน้ำยาเติมหม้อน้ำรถยนต์
ว่า “ใช้แล้วหม้อน้ำของหนูเย้นเย็น” โฆษณาขายตู้เย็นที่แถมผ้าขนหนู มีผู้หญิงนุ่งผ้าขนหนูออกมาโฆษณาว่า “หนูแถมหมดเนื้อหมดตัว
เลยค่ะ” เป็นต้น ถ้านักโฆษณายังไม่เลิกโฆษณาแบบมีพิษเช่นนี้แล้ว ก็ควรที่จะต้องมีผู้ควบคุมอย่างเข้มงวดด้วย นอกจากนี้ละครโทรทัศน์
เรื่องที่มีการกล่าวคำหยาบคายหรือที่เรียกกันว่า “ด่าแหลก” นั้น ก็เป็นแหล่งมลพิษทางภาษาอีกแหล่งหนึ่ง ที่เป็นแหล่งเผยแพร่ภาษาไม่
สุภาพได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพเช่นกัน แม้แต่รายการโทรทัศน์ก็เกิดมลพิษทางภาษาขึ้นได้ มักเป็นการใช้คำผิดซึ่งส่วนหนึ่งเกิด
จากการใช้คำจนติดหรือเพื่อสร้างความเร้าใจ หรือความแปลกใหม่ เช่น ในรายการโทรทัศน์รายการหนึ่งผู้ดำเนินรายการต้องการให้
อาจารย์มหาวิทยาลัย ๔ คน ตอบปัญหาเดียวกัน ผู้ดำเนินรายการได้ใช้คำพูดว่า “ต่อไปนี้ผมจะต้องข่มขืนอาจารย์ทั้ง ๔ ท่าน ให้ตอบปัญหา
ข้อนี้ให้ได้” การใช้คำ “ข่มขืน” หรือแม้แต่คำว่า “บังคับ” ถือเป็นการใช้คำที่ผิดมารยาทอย่างมาก ฟังแล้วเหมือนจะมีการข่มขืนกันจริงๆ
การลดมลพิษทางภาษาลักษณะเช่นนี้ นอกจากผู้ดำเนินรายการจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงแก้ไขการใช้ภาษาของตนแล้ว ผู้ปกครองที่ดูรายการ
อยู่ก็ควรแนะนำการใช้ภาษาดังกล่าวให้แก่เด็กๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องด้วย
          ๔. หนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ การพาดหัวข่าวนั้นมีข้อจำกัดเรื่องเนื้อที่ และการที่ต้องสร้างความน่าสนใจแก่
ผู้อ่านก็จริง เช่น มีการตัดคำ มีการใช้ภาษาสแลง เช่น “ฝ่ายค้านอัดรัฐบาลยับ” “ชวนโยนระเบิดบรรหาร” “ดันสุชาติ...” เป็นต้น แต่มัก
ปรากฏการใช้คำพูดโกหกและคำหยาบ ซึ่งเป็นการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ ขัดจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์และทำลายศักดิ์ศรีของ
หนังสือพิมพ์อยู่ด้วยเสมอ เช่น เพียงแต่พบรอยเสือใกล้หมู่บ้านก็พาดหัวว่า “เสือโคร่งบุกหมู่บ้าน” หรือมีการใช้คำหยาบ เช่นพาดหัวข่าว
เกี่ยวกับการแข่งขันฟุตบอลโลกว่า “หมูเตะสก็อตกระโปรงแหก” ข่าวการเมือง เช่น “ถีบหัวปชป. ไล่ออกจากรัฐบาล” เป็นต้น การใช้คำว่า
“แหก” และ “ถีบ” ในบริบทดังกล่าวแม้จะเป็นการใช้คำที่สร้างความสนใจ แปลก และทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกได้แต่ก็ถือว่าเป็นการใช้
คำไม่สุภาพ จากลักษณะการใช้ภาษาเช่นนี้จึงน่าจะเป็นตัวอย่างในการพิจารณาเพื่อตั้งข้อสังเกตได้ว่า ภาษาสื่อมวลชนนั้น เราจะยอมรับให้
แปลก หรือให้อารมณ์อย่างไม่มีขีดจำกัดโดยถือว่าเป็นความสร้างสรรค์ดีหรือไม่ หรือน่าจะมีกฎเกณฑ์กันบ้างว่าอย่างไรสร้างสรรค์ อย่างไร
ไม่สร้างสรรค์
          ๕. การพูดจาในชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับการกล่าวชม ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีคำใช้เป็นจำนวนมาก เมื่อเราต้องการกล่าวชื่นชม
ใครเราก็มักจะสรรหาถ้อยคำที่มีความหมายไปในทางบวก ซึ่งเป็นถ้อยคำที่ดีที่คิดว่าจะทำให้ผู้ฟังพอใจได้ แต่ในบางครั้งกลับพบว่าถ้อยคำ
ดังกล่าวก็อาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกไม่พอใจได้เช่นกัน หากเป็นการใช้ที่ไม่ถูกกาลเทศะไม่ถูกบุคคลหรือสถานที่ นับเป็นการใช้ภาษาไม่สุภาพ
ประการหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ผู้ใหญ่คราวพ่อชมเด็กสาวคราวลูกว่า สวย ขาว เนียน แม้คำดังกล่าวจะเป็นคำที่มีความหมายไปในทางที่ดีก็ตาม
แต่นับว่าการใช้ภาษาในสถานการณ์เช่นนี้เป็นการใช้ที่ไม่เหมาะสม เพราะการพูดจาเรื่องเกี่ยวกับร่างกายหรืออวัยวะต่างๆ ของผู้หญิงไทย
นั้นถือเป็นการละลาบละล้วง จากคำชมว่า สวย ขาว เนียน จึงอาจถูกผู้ฟังตีความเอาว่าเป็นการจ้องมองสำรวจดูผิวพรรณ ซึ่งย่อมจะแฝง
ความปรารถนาทางเพศไว้ด้วย ผู้ฟังอาจไม่พอใจได้ และยิ่งเป็นคำพูดของผู้ใหญ่ด้วยแล้วก็อาจจะทำให้ผู้ฟังดูหมิ่นผู้พูด ผู้ใหญ่คนนั้นอาจ
“ถูกเด็กถอนหงอก” ได้ จะเห็นได้ว่าคำพูดที่เราพูดกันนั้นมักจะแฝงวัฒนธรรมของชาติไว้ ความหมายของคำถ้าเปิดตามพจนานุกรมอาจ
จะมีไม่มากนัก แต่เมื่อคำนึงถึงนัยของวัฒนธรรมแล้ว จะพบความหมายลึกซึ้งที่ซ่อนเร้นอยู่อีกมากมาย

ข้อสังเกตเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยในการใช้ภาษาบางประการ
          ๑. ธรรมเนียมไทยถือว่าผู้ใหญ่ล้อเล่นหรือให้ความสนิทสนมกับเด็กนับเป็นการให้ความเมตตา ถ้าเด็กถือเอาความเมตตานั้นเป็น
โอกาสให้พูดล้อผู้ใหญ่เล่น แม้จะด้วยความรัก ท่านก็ถือว่าไม่งาม เป็นเรื่องเสียมารยาท เด็กสมัยใหม่มักจะขาดมารยาทข้อนี้ มักไม่รู้จัก
ความพอดี ทำให้พูดล่วงเกินผู้ใหญ่ หรือพูดจาตีเสมอผู้ใหญ่ แม้จะเป็นการพูดโดยไม่ได้มีเจตนาร้ายก็ตาม
          ๒. ธรรมเนียมไทยนั้น ผู้ใหญ่ที่ดีท่านย่อมรู้ตัวว่าท่านทำอะไรดีหรือไม่ ท่านแก้ไขตัวเองได้ ไม่ใช่หน้าที่ผู้น้อยที่จะตำหนิ ยิ่งเป็น
ผู้ใหญ่ของบ้านเมืองถ้าท่านทำอะไรผิด ผลงานจะเป็นตัวตำหนิท่านเอง
          ๓. วัฒนธรรมไทยนั้นถือว่าสิ่งที่ไม่งาม สิ่งที่น่ารังเกียจไม่ควรนำมาแสดง การนำสิ่งที่ไม่ดีของผู้อื่นออกมาแสดงนั้น ถือเป็นการ
ประจานผู้อื่น เป็นเรื่องเสียมารยาทอย่างยิ่ง
          ๔. การคำนึงถึงการใช้ภาษาให้สุภาพนั้น บางครั้งทำให้เกิดความฟุ่มเฟือยขึ้น มักเป็นการใช้คำมากแต่กินความน้อย ทั้งนี้เพราะ
ความพยายามสุภาพ และแสดงความเกรงใจจนทำให้ลืมเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารไป เช่นตัวอย่างการเขียนข้อความบอกอาจารย์ของ
นักศึกษาที่กล่าวว่า “ดิฉันมากราบรบกวนอาจารย์ จะรบกวนถามเรื่อง... ถ้าจะมากราบเรียนอีก อาจารย์จะสะดวกวันไหน โปรดกรุณาเขียน
วันที่ให้ทราบด้วย ขอบพระคุณค่ะ” เป็นต้น ในการเขียนนั้นควรเขียนให้กระชับ ตรงไปตรงมาไม่เยิ่นเย้อ และได้สาระสำคัญ ทั้งไม่ควรใช้
ภาษาที่ผิดธรรมเนียมหรือวัฒนธรรมไทยด้วย


ภาพจาก Web Site
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=151070
ณ วันที่ 16-9-54
          ภาษาจึงไม่ใช่แค่เพียงสื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารหรือข้อมูลไปยังผู้รับสารเท่านั้น ภาษายังสะท้อนวัฒนธรรมของผู้ส่งสารออกมาด้วย
แม้สารจะถูกต้องชัดเจนแต่หากขาดความสุภาพความเหมาะสมต่อสถานการณ์ บุคคล หรือเวลาแล้ว การสื่อสารนั้นก็สัมฤทธิ์ผลได้ยาก
ดังนั้นลองนึกทบทวนสักนิดว่าเราได้ใช้ภาษาสุภาพหรือยัง หากยังควรปรับเปลี่ยนทัศนคติและทำความเข้าใจภาษาให้ถูกต้อง ไม่เช่นนั้น
ท่านอาจเป็นคนหนึ่งที่เพิ่ม “มลพิษทางภาษา” ให้กับสังคมและลูกหลานไทยก็เป็นได้

          * หมายเหตุ สรุปความและแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมจากบทความเรื่อง “ชมอย่างขี้ข้า ด่าอย่างผู้ดี” “ เขาจะข่มขืนกันทางทีวี”
“มลพิษทางภาษา” “ใช้ภาษาอย่าลืมวัฒนธรรมไทย ” จากหนังสือวิพากษ์การใช้ภาษาไทย ของ ศาสตราจารย์ ปรีชา ช้างขวัญยืน และ
บทความเรื่อง “ฟุ่มเฟือยอย่างสุภาพ” จากหนังสือหนังสือชุดความรู้ภาษาไทย อันดับที่ ๑๗ สมพร จารุนัฎ สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ
กระทรวงศึกษาธิการ